งานเจาะสำรวจชั้นหินและแหล่งแร่
ของสายแร่แบบสามมิติ ซึ่งการขุดหลุมทดลอง ควรมีขนาดประมาณ 1X1 เมตร และการขุดร่องสารวจ ควรมีขนาดความกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวควรครอบคลุมความกว้างของแนวพบแร่
การกำหนดความลึกและตำแหน่งการสารวจตัวอย่างดินการกำหนดความลึกขึ้นอยู่กับลักษณะความแปรปรวนของชั้นดิน น้ำหนักและความสำคัญของสิ่งก่อสร้าง โดยอาจจะพิจารณาได้ดังนี้
1. จะต้องมีหลุมเจาะนาร่อง ที่ตำแหน่งสาคัญที่สุดในฐานรากนั้น เช่นบริเวณที่น้ำหนักลงมากที่สุด อาคารที่สูงสุดในพื้นที่ก่อสร้าง หลุมนำร่องนี้ต้องมีอย่างน้อย 1 จุด
2. จะต้องมีหลุมเจาะครอบคลุมพื้นที่ ซึ่งมีลักษณะการกระจายออกคลุมพื้นที่บริเวณฐานรากทั้งหมด เพื่อให้ทราบความเปลี่ยนแปลงของชั้นดินในแนวราบ
3. จะต้องมีหลุมเจาะเสริม หรือการทดสอบในสนาม หรือการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่กว้างมาก หรือเป็นแนวยาว
การเจาะสำรวจโดยใช้การฉีดล้าง เป็นวิธีการเพื่อจุดประสงค์จะเก็บตัวอย่างดิน เพื่อนำมาหาคุณสมบัติของดินทางวิศวกรรม ประกอบด้วย
1. ตัวอย่างเปลี่ยนสภาพ ได้แก่ ตัวอย่างดินเก็บจากกระบอกผ่า เพื่อใช้ดินตัวอย่างทดลองหา Alterberg’s Limit การทำ Sieve Analysis
2. ตัวอย่างคงสภาพ ได้แก่ ตัวอย่างดินที่เก็บจากกระบอกบางขนาด 3 นิ้วขึ้นไป สามารถนาตัวอย่างดินที่ได้ทดลองหาค่าคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินได้เกือบทั้งหมด
- งานเจาะสำรวจเพื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริเวณพื้นที่ภาคกลาง
- kickoff งานเจาะสำรวจเพื่อใช้ในการออกแบบโครงการงานปรับปรุงระบบท่อประธานและงานที่เกี่ยวข้อง สัญญา สศป-33
- Kick off งานสำรวจเพื่อใช้ในการออกแบบโครงการงานปรับปรุงระบบท่อประธานและงานที่เกี่ยวข้อง สัญญา สศป-33
- การทดสอบกำลังเฉือนโดยตรง และ การทดสอบกำลังรับแรงอัดแกนเดียว
- การสำรวจวัดสภาพต้านทานไฟฟ้าแบบ 2 มิติ