งานเจาะสำรวจชั้นหินและแหล่งแร่

            การสำรวจแร่ เป็นการดำเนินการเพื่อพิสูจน์ทราบความมี/ไม่มีสายแร่ รวมถึงความสมบูรณ์ ปริมาณแร่ธรณีวิทยา รวมทั้งข้อมูลที่อาจพิสูจน์ทราบได้ ด้วยวิธีการทางธรณีวิทยาภาคสนาม ธรณีเคมี ธรณีฟิสิกส์ วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธี โดยสามารถทาการสำรวจทั้งทางอากาศ บนผิวดิน และใต้ดิน
การสำรวจใต้ดิน เป็นการสำรวจเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลธรณีวิทยาแหล่งแร่ทั้ง 3 มิติคือ ด้านกว้าง ยาว และด้านลึก ด้วยวิธีขุดหลุมทดลอง ร่องสำรวจ และเจาะสำรวจ
การขุดหลุมทดลอง และร่องสำรวจ จะทำการขุดตัดขวางการวางตัวของสายแร่ หรือทำมุมเกือบ 90 องศากับสายแร่ เพื่อศึกษาความหนา การวางตัว และทิศทาง
ของสายแร่แบบสามมิติ ซึ่งการขุดหลุมทดลอง ควรมีขนาดประมาณ 1X1 เมตร และการขุดร่องสารวจ ควรมีขนาดความกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวควรครอบคลุมความกว้างของแนวพบแร่
การเจาะสำรวจ เป็นการเก็บข้อมูลในระดับลึก โดยเก็บตัวอย่างชิ้นเศษหิน และแท่งหินจากหลุมเจาะ แล้วนำไปศึกษา วิเคราะห์ทางเคมี และฟิสิกส์ เพื่อให้ทราบความลึก ขนาด รูปร่าง และความสมบูรณ์ของแหล่งแร่ เพื่อที่จะนำไปประเมินค่าแหล่งแร่ ศึกษาความเหมาะสมในเชิงพาณิชย์ และพัฒนาเป็นเหมืองแร่ต่อไป

การกำหนดความลึกและตำแหน่งการสารวจตัวอย่างดินการกำหนดความลึกขึ้นอยู่กับลักษณะความแปรปรวนของชั้นดิน น้ำหนักและความสำคัญของสิ่งก่อสร้าง โดยอาจจะพิจารณาได้ดังนี้

1.     จะต้องมีหลุมเจาะนาร่อง ที่ตำแหน่งสาคัญที่สุดในฐานรากนั้น เช่นบริเวณที่น้ำหนักลงมากที่สุด อาคารที่สูงสุดในพื้นที่ก่อสร้าง หลุมนำร่องนี้ต้องมีอย่างน้อย 1 จุด

2.     จะต้องมีหลุมเจาะครอบคลุมพื้นที่ ซึ่งมีลักษณะการกระจายออกคลุมพื้นที่บริเวณฐานรากทั้งหมด เพื่อให้ทราบความเปลี่ยนแปลงของชั้นดินในแนวราบ

3.     จะต้องมีหลุมเจาะเสริม หรือการทดสอบในสนาม หรือการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่กว้างมาก หรือเป็นแนวยาว

ในการเจาะสำรวจดินต้องบันทึกการเจาะดินทุกๆ หลุม อันประกอบด้วย ความลึกรายละเอียดของชั้นดิน ระดับน้ำใต้ดิน ผลการทดสอบแรงเฉือน ผลการทดสอบ S.P.T. และตาแหน่งที่เจาะ พร้อมพิกัดทางภูมิศาสตร์ จะทาให้สามารถวิเคราะห์ผลการสารวจดินได้อย่างถูกต้อง

การเจาะสำรวจโดยใช้การฉีดล้าง เป็นวิธีการเพื่อจุดประสงค์จะเก็บตัวอย่างดิน เพื่อนำมาหาคุณสมบัติของดินทางวิศวกรรม ประกอบด้วย

1.       ตัวอย่างเปลี่ยนสภาพ ได้แก่ ตัวอย่างดินเก็บจากกระบอกผ่า เพื่อใช้ดินตัวอย่างทดลองหา Alterberg’s Limit การทำ Sieve Analysis

2.       ตัวอย่างคงสภาพ ได้แก่ ตัวอย่างดินที่เก็บจากกระบอกบางขนาด 3 นิ้วขึ้นไป สามารถนาตัวอย่างดินที่ได้ทดลองหาค่าคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินได้เกือบทั้งหมด

geo14 (6)
geo12 (4)
geo14 (8)
geo9 (7)
ผลงานของเรา
geo12 (2)
โครงการสำรวจและออกแบบปรับปรุงและแก้ไขปัญหาการจราจร บนทางหลวงหมายเลข 32 -
geo14 (4)
โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย
geo13 (1)
โครงการทางหลวงท้องถิ่นสายเชื่อมระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตกับถนนพหลโยธินช่วงที่ 1
อ่านต่อ คลิกที่นี่