การเจาะพัฒนาบ่อน้ำบาดาล

                   การเจาะน้ำบาดาล หมายถึง รูหรือปล่องที่ขุดหรือเจาะลงไปถึงชั้นน้ำบาดาล เพื่อต้องการที่จะเอาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ ฉะนั้น ในทางวิชาการจึงไม่กำหนดความลึกของบ่อไว้ จึงจะเรียกบ่อน้ำธรรมดา หรือเรียกบ่อบาดาล ที่ถูกหลักต้องเลือกในท้องที่ที่ไม่เคยเจาะน้ำบาดาลมาก่อน หรือในท้องที่ที่ชั้นน้ำเป็นหินแข็ง จะต้องใช้ความรู้ทางธรณีวิทยา และอุทกธรณีวิทยาน้ำบาดาลในบริเวณที่จะเจาะ การเจาะบ่อขนาดใหญ่ที่ต้องการน้ำมากๆในบางแห่งยังต้องมีเจาะบ่อทดสอบ(Test hole) ดูก่อน 2-3 บ่อ การเจาะบ่อทดสอบเพื่อที่จะหาความลึกของแหล่งน้ำบาดาล จุดที่ชั้นน้ำบาดาลหนาที่สุด จุดที่น้ำบาดาลมากที่สุด คุณภาพน้ำที่ดีที่สุด ผลจากการทดสอบและรายละเอียดการตรวจสอบอื่นๆ เช่น การตรวจสอบชั้นหิน การตรวจชั้นน้ำด้วยเครื่องมือไฟฟ้า และการทดสอบปริมาณน้ำ เมื่อมาประเมินให้ถูกหลักก็จะกำหนดจุดเจาะให้ได้ผลดีที่สุดได้ แนวทางการเลือกจุดเจาะทั่วไป ควรที่จะเลือกใช้ลักษณะภูมิประเทศของที่นั้นๆมาร่วมพิจารณาด้วย การเจาะบ่อทดสอบจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่ถ้าหากต้องการเลือกจุดเจาะที่ดีที่สุดจะต้องทำการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ก่อน ซึ่งวิธีนี้จะใช้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าและระยะเวลาการทำงานน้อย
วัตถุประสงค์ของการสูบทดสอบ คือ การประเมินคุณสมบัติทางชลศาสตร์ของชั้นน้ำบาดาล และประเมินอัตราการสูบน้ำ การเลือกขนาด และชนิดของเครื่องสูบน้ำ การประเมินคุณสมบัติทางชลศาสตร์ ได้แก่ คุณสมบัติการจ่ายน้ำ (Transmissivity), คุณสมบัติในการยอมให้น้ำไหลผ่าน (Hydraulic conductivity) และคุณสมบัติในการกักเก็บ (Storage coefficient)

ชนิดของเครื่องเจาะ

1.       การเจาะแบบหัวตอก (Drived point)

2.       ใช้ตอกได้เฉพาะในกรวดทรายหรือดินเท่านั้น ปริมาณน้ำที่เจาะได้พอเหมาะที่จะใช้เฉพาะในครัวเรือน การปลี่ยนแปลงของระดับน้ำบาดาล อาจจะกระทบกระเทือนต่อปริมาณน้ำที่สูบได้ เพราะ บางครั้งระดับน้ำอาจจะลดต่ำกว่าระดับตัวหัวตอก เครื่องเจาะแบบใช้น้ำพ่น (Jet Drilling Rig)  เหมาะกับพื้นที่ที่เป็นกรวดทราย หรือแหล่งหินร่วนเท่านั้น หลักการของการเจาะแบบนี้คือการฉีดน้ำตามแนวดิ่งลงไปในดิน แรงดันของน้ำจะดันเอาดินส่วนที่ถูกฉีดให้แตก ไหลปนกับน้ำขึ้นสู่ผิวดิน น้ำที่ว่านี้เป็นน้ำที่ผสม Bentonite เรียกว่าน้ำโคลน ซึ่งจะช่วยนำเอา เศษตะกอนขึ้นมาและเป็นตัวฉาบผนังบ่อเพื่อป้องกันการพังของผนังบ่อ

3.       เครื่องเจาะแบบกระแทก (Percussion rig หรือ Cable tool) สามารถเจาะได้ในหินทุกชนิดไม่ว่าแข็งหรืออ่อน แต่มีโอกาสที่บ่อจะเกิดการพังง่าย จึงควรใส่ท่อกันพัง

4.       เครื่องเจาะแบบหมุนตรง (Direct Rotary Rig) หลักการคล้ายกับการเจาะแบบใช้พ่น แต่ใช้เครื่องจักรกลแรงคนและมีขนาดใหญ่มากกว่า

5.       เครื่องเจาะหมุนแบบดูดกลับ (Reverse Rotary Rig) ดัดแปลงมาจากวิธีการของเครื่องเจาะหมุนตรง แต่ในวิธีนี้เราจะปล่อยน้ำไหลลงไปเองทางช่องว่างระหว่างผนังบ่อกับก้านเจาะ แล้วดูดน้ำโคลนพร้อมทั้งเศษหินเล็กๆ ไหลกลับลงไปในบ่อเก็บน้ำ เหมาะที่จะเจาะในชั้นหินร่วนหรือชั้นดินอ่อน สามารถเจาะได้บ่อขนาดใหญ่

6.       เครื่องเจาะผสมแบบใช้น้ำและลม (Direct Rotary and Down the Hole Hammer) เป็นเครื่องเจาะที่สามารถสับเปลี่ยนวิธีการเจาะได้ตามความเหมาะสม ซึ่งการเจาะแบบใช้ลมเหมาะในการเจาะชั้นดินหรือชั้นหินแข็ง และการเจาะแบบใช้น้ำโคลนเหมาะในการเจาะชั้นดินหรือชั้นหินที่อ่อน และสามารถได้ทันทีเมื่อเจาะถึงชั้นที่ให้น้ำ

การพัฒนาบ่อ (Well Development)

เป็นงานขั้นสุดท้ายในกรทำบ่อก่อนที่จะสูบน้ำจากบ่อออกไปใช้ การพัฒนาบ่อมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้บ่อมีน้ำเพิ่มมากขึ้น ป้องกันไม่ให้ทรายเข้าบ่อ และทำให้อายุการใช้งานของบ่อมากขึ้น วิธีการพัฒนาบ่อมีดังนี้

1.      วิธีการตักน้ำ (Bailing) คือการใช้กระบอกตักน้ำหย่อนบงไปตักน้ำถึงก้นบ่อขึ้นมาทิ้ง จะทำให้น้ำกระเพื่อมผ่านรูท่อกรองออกจากบ่อและเข้าบ่ออย่างแรง ทรายเม็ดละเอียดมากๆจะแขวนลอยอยู่ในน้ำ ส่วนเม็ดใหญ่จะตกตะกอนที่ก้นบ่อ ตักขึ้นทิ้งได้ต่อไป

2.      วิธีการสูบน้ำ (Pumping) คือการสูบน้ำด้วยเครื่องสูบ โดยต้องใส่ท่อดูดของเครื่องสูบลงไปประมาณกึ่งกลางของท่อเซาะร่อง และเริ่มสูบน้ำประมาณน้อยๆก่อนจนกว่าน้ำจะใส จึงเพิ่มความเร็วของเครื่องสูบ จนสูบน้ำได้ปริมาณสูงสุดเท่าที่เครื่องสูบจะสูบได้แล้วจึงหยุด ให้ระดับน้ำคืนตัวขึ้นมาอยู่ระดับเดิมแล้วจึงเริ่มสูบใหม่ การทำเช่นนี้จะทำให้เกิดการกวนน้ำในชั้นน้ำ ตะกอนละเอียดจะถูกดูดเข้ามาในบ่อและนำไปทิ้ง

3.      วิธีการกวนน้ำ (Surging) โดยใช้ swab ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับลูกสูบใส่ลงไปในบ่อเหนือระดับท่อกรองแล้วดึงขึ้นลงเร็วๆ จะทำให้ทรายละเอียดไหลเข้าและออกจากบ่อ จากนั้นจึงตักน้ำปนทรายออกด้วยกระบอกตัก ทำไปเรื่อยๆจนกระทั่งไม่มีทรายเข้าบ่ออีก

4.       วิธีการเป่าล้างด้วยลม โดยต่อท่อลม (Air Line) ลงไปในท่อสูบน้ำ (Drop Pipe) จนถึงปลายสุดของท่อกรอง แล้วจึงปล่อยลมซึ่งมีความดันสูงตั้งแต่ 100-125 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ลงไปในบ่อทางท่อลม จะทำให้ตะกอและทรายเม็ดเล็กรอบๆบ่อหลุดเข้ามาในบ่อแล้วจึงถูกดันขั้นข้างบนทางท่อจ่ายน้ำตลอดเวลาที่ลมยังมีแรงดันสูง

ผลงานของเรา
geo14 (3)
โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม อ่างเก็บน้ำงาวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
geo7 (8)
โครงการก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินร่วมกับโครงการพื้นที่พัฒนาบางซื่อศูนย์คมนาคมพหลโยธิน
geo13 (2)
สำรวจงานก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินและงานที่เกี่ยวข้อง
อ่านต่อ คลิกที่นี่