งานสำรวจทางด้านธรณีฟิสิกส์ด้วยวิธีวัดความต้านทานไฟฟ้า

                  ธรณีฟิสิกส์เป็นการศึกษาส่วนต่าง ๆ ของโลก ทั้งส่วนที่เป็นเปลือกโลก (Crust) ประกอบด้วยชั้นดินและชั้นหิน แมนเทิล (Mantle) และแกนกลางของโลก (Core) โดยอาศัยหลักการที่ว่าวัตถุต่างชนิดกันย่อมมีคุณสมบัติทางกายภาพ (Physical properties) ที่ต่างกัน โดยการสํารวจทางธรณีฟิสิกส์จะวัดลักษณะความแตกต่างกันทางคุณสมบัติทางกายภาพของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใต้ผิวดินด้วยเครื่องมือที่มีการออกแบบมาเพื่อให้สามารถตรวจวัดความแตกต่างทางกายภาพเฉพาะตัวของวัตถุต่าง ๆ ได้ โดยการสํารวจธรณีฟิสิกส์จะทําการตรวจวัดที่ผิวดินและแปลความหมายไปที่ระดับความลึกต่าง ๆ ใต้ผิวดินการสํารวจด้วยวิธีทางธรณีฟิสิกส์เป็นการเพิ่มขอบข่ายความสามารถของการสํารวจใต้ผิวดินที่ไม่ได้เห็นได้ทันที ช่วยให้การเจาะหรือขุดเพื่อพิสูจน์ทราบข้อมูลใต้ผิวดินเป็นไปได้อย่างแม่นยําขึ้น มีผลให้ช่วยลดต้นทุนในการสํารวจ อนึ่งการสํารวจด้วยวิธีทางธรณีฟิสิกส์อาจไม่ใช่วิธีที่บอกผลที่ต้องการได้ทันที ต้องอาศัยประสบการณ์การแปลผลของผู้สํารวจเป็นสําคัญ

เป้าหมายในการสํารวจด้วยวิธีการทางธรณีฟิสิกส์ ประกอบด้วย

1.     โครงสร้างทางธรณีวิทยา (Geological structures)

2.     สินแร่ (Ore)

3.     ธรณีวิทยาของฐานราก (Geology of foundation)

4.     คุณสมบัติทางกายภาพของหิน (Physical properties of rock)

การสํารวจทางธรณีฟิสิกส์จะวัดค่าคุณสมบัติทางกายภาพของวัตถุตัวกลาง (Media) ที่ประกอบด้วย

1.       ค่าความยืดหยุ่น (Elasticity)

2.       ค่าความหนาแน่น (Density)

3.       ค่าความเป็นแม่เหล็ก (Magnetization)

4.       ลักษณะทางไฟฟ้า (Electrical characteristics)

5.       ค่ากัมมันตรังสี (Radioactive)

การสํารวจทางธรณีฟิสิกส์ทําได้หลายวิธี แต่ละวิธีศึกษาสมบัติทางกายภาพของวัตถุที่แตกต่างกัน วิธีเหล่านี้แสดงในตาราง
ผลงานของเรา
geo3 (2)
การสำรวจวัดสภาพต้านทานไฟฟ้าแบบ 2 มิติ
geo4 (3)
การทดสอบกำลังเฉือนโดยตรง และ การทดสอบกำลังรับแรงอัดแกนเดียว
geo1 (3)
เจาะสำรวจ กำหนดความลึก 50 เมตร โครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้
อ่านต่อ คลิกที่นี่